แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ภายในบ้าน

แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ภายในบ้าน

เครื่องตรวจจับควัน

ประโยชน์ของเครื่องตรวจจับควัน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบอนุภาคของควันโดยอัตโนมัติ โดยมากการเกิดเพลิงไหม้จะเกิดควันไฟก่อน อุปกรณ์ตรวจจับควันจึงสามารถตรวจการเกิดเพลิงไหม้ได้ในระยะแรก ทำให้สามารถป้องกันเพลิงไหม้ลุกลามได้ทันท่วงที



ทางหนีไฟแผนทางหนีไฟเมื่อเกิดอัคคีภัย

หาทางออกฉุกเฉินไว้อย่างน้อย 2 ทาง เพื่อใช้เป็นเส้นทางหนีไฟ จากนั้นตรวจสอบดูให้แน่ใจว่าทางหนีฉุกเฉินนั้นใช้ได้ ไม่มีสิ่งปิดกั้นหรือมีสิ่งกีดขวางอยู่ เพื่อออกสู่พื้นที่ปลอดภัยด้านนอก





แผนการป้องกันอัคคีภัยภายในบ้าน

อัคคีภัย หรือไฟไหม้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ไม่ว่าบ้านพักอาศัยโรงงานและสถานที่ต่างๆ ที่มาความสูญเสียด้านทรัพย์สินและบางครั้งอาจมีการสูญเสียชีวิตร่วมด้วย ดังนั้นการป้องกันไฟไหม้จึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ได้แก่


1. ห้ามสอนเด็กเล็กเล่นไม้ขีดไฟ ไฟแช็ก เก็บสิ่งของที่ติดไฟได้ง่ายให้พ้นมือเด็ก ส่วนเด็กโตสอนถึงอันตรายของไฟและให้รู้วิธีการจุดไม้ขีดไฟ ไฟแช็กที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการนำไปจุดเองแล้วตกใจ หรือพลาดพลั้ง ทำให้ลวกมือหรือหน้าและอาจทำให้ไม้ขีดนั้นตกพื้นและลามไปทั่วจนเกิดไฟไหม้

2.อย่าให้เด็กเล่นวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิดทั้งหลาย เช่น น้ำเชื้อเพลิง น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก ทินเนอร์ สเปรย์กระป๋อง ดอกไม้ไฟ ประทัด และเม็ดมะยม เป็นต้น

3.หมั่นตรวจสอบสายไฟ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน เพราะสายไฟเก่า ถลอก หรือการใช้ปลั๊กไฟ 1 ตัว กับเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายตัว การใช้ไฟเกินขนาดเป็นเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร

4.ก่อนเข้านอนหรือก่อนออกนอกบ้านต้องตรวจให้แน่ใจว่าไม่ได้ จุดธูป จุดเทียน เปิดแก๊ส เปิดเตาไฟฟ้า เสียบปลั๊กทิ้งไว้

5.ดับก้นบุหรี่ ธูป เทียน เตาแก๊ส ให้สนิทเมื่อเลิกใช้งาน

6. เสื้อผ้าเก่า หนังสือพิมพ์ นิตยสารเก่าๆ ใบไม้แห้งที่ร่วงเกลื่อนสนามล้วนแต่เป็นเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้ง่ายทั้งสิ้น ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้ควรจำจัดออกจากบ้านเรือน

7.อย่าทิ้งให้เด็กอยู่บ้านตามลำพัง เสื้อนอนของเด็กเลือกที่ไม่ติดไฟง่าย

8.ติดตั้งอุปกรณ์ดับไฟ(เครื่องดับเพลิง) ที่ได้มาตรฐาน ศึกษาวิธีการใช้เครื่องดับเพลิงอย่างละเอียด และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งคัด





9.เหล็กดัด ตามประตูหน้าต่างไม่ควรใช้แบบติดถาวร ควรเปิดปิดไว้ด้วยกุญแจ ลูกกุญแจนั้นต้องเก็บไว้ ที่ทุกคนหยิบได้ทันทีเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน

10.จดเบอร์โทรศัพท์ของสถานนีดับเพลิงในพื้นที่ (ที่ใกล้ที่สุด) หรือโทร. 199 เพื่อแจ้งเหตุเพลิงไหม้

แผนการปฏิบัติตนเมื่อเกิดอัคคีภัยภายในบ้าน

1.เมื่อเกิดเพลิงไหม้ต้องพยายามควบคุมสติ แล้วรีบแจ้งสถานีดับเพลิงที่ใกล้ที่สุด หรือโทรศัพท์หมายเลข 199

2.หากรู้ว่าคัทเอาท์ไฟฟ้าอยู่ไหน ควรรีบสับคัทเอาท์ลงก่อน

3.ถ้าเพลิงมีขนาดเล็ก พอที่จะดับเพลิงเองได้ ให้ใช้ถังดับเพลิงเพื่อทำการดับไฟ

4.ถ้าที่เกิดเหตุมีควันกั้นอยู่ ห้ามวิ่งออกไปเพราะอาจสำลักควันและขาดอากาศหายใจได้ ดังนั้นวิธีหนีควันไฟ คือ คว่ำหน้าหมอบลงกับพื้นแล้วค่อยๆ คลานไปสู่ทางออก ให้ใช้ผ้าชุบน้ำปิดปาก ปิดจหมูก เพื่อป้องกันการสำลักควัน

5.หากเกิดไฟไหม้ในห้องที่ไม่มีคนอยู่ ให้รีบปิดประตูห้องให้มิดชิด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของควัน ทำให้ไฟที่กำลังไหม้ลดกำลังลงและอาจดับไปเอง อย่าเปิดห้องเป็นอันขาดเพราะจะทำให้ไฟลุกลามมากขึ้น รอจนเจ้าหน้าที่ดับเพลิงมาจัดการดูแลต่อไป

6.ถ้าติดอยู่ให้ห้องที่ไฟกำลังลุกลามใกล้มาถึงให้ใช้ผ้าหุ้ม ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ชุบน้ำเปียกๆแล้วอุดไว้ตามร่องประตู และช่องต่างๆในห้อง กัดไม่ให้ควันไฟลอดเข้ามาได้ แล้วตะโกนหรือส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ

7.ในกรณีที่ไฟไหม้เสื้อผ้าที่สวมใส่ ให้นอนลงกับพื้น และกลิ้งตัวทับไปทับมา จนกะทั่งเปลวไฟมอดดับ

8.ควรมีการซ้อมการป้องกันอัคคีภัยที่เป็นวิธีการฝึกการเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ การวางแผนการหนีไฟ


วิธีการใช้ถังดับเพลิง

1. ดึง ทำการดึงสลักนิรภัย
2.ปลด ทำการปลดสายฉีดออกจากที่เก็บ
3.กด ทำการกดก้านฉีด เพื่อทำการฉีดสารเคมีออกมา พร้อมจับปลายสายให้แน่
4. ส่าย เข้าใกล้ 2-4 เมตร ด้านเหนือลม พร้อมฉีดไปยังฐานของไฟ โดยส่ายไฟมาซ้าย-ขวา จนเปล่าไฟดับสนิท

การปฐมพยาบาลเมื่อพบผู้บาดเจ็บจากไฟไหม้

1.ใช้น้ำสะอาด ราด รด หรือแช่ผู้บาดเจ็บจากไฟลวด เพื่อลดความเจ็บปวดของบาดแผล หยุดการทำลายจากความร้อน

2.หากผู้บาดเจ็บสวมแหวน นาฬิกา กำไล ให้รีบถอดออก เพราะไม่นานบริเวณที่ถูกความร้อนจะเกิดอาการบวม

3.ปิดแผลด้วยผ้าปิดแผล ถ้าหาไม่ได้ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้า ปลอกหมอนหรือผ้าปูที่นอนพันบาดแผลไว้ และรีบนำส่งโรงพยาบาล


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กฎหมายอบรมดับเพลิงขั้นต้นและหน่วยงานฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้น

ตัวอย่างหนังสือเชิญเป็นวิทยากร อบรมดับเพลิงขั้นต้น การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ สถานีดับเพลิงบางขุนเทียน

หลักสูตรอบรมดับเพลิงขั้นต้น สำหรับสถานประกอบการ