หลักสูตรอบรมดับเพลิงขั้นต้น สำหรับสถานประกอบการ
การอบรมดับเพลิงขั้นต้น ภาคทฤษฏี
ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้
การสันดาป หรือการเผาไหม้ (COMBUSTION) คือ ปฏิกิริยาเคมี ที่เกิดจากการรวมตัวของเชื้อเพลิงกับออกซิเจน ซึ่งเป็นผลให้เกิดความร้อนและแสงสว่างกับสภาพการเปลี่ยนแปลงก่อนที่ไฟจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย 3 สิ่งต่อไปนี้ มารวมตัวกันในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะเกิดขึ้นเป็นไฟได้ หรือเรียกว่า ทฤษฎีสามเหลี่ยมของไฟ คือ 1.เชื้อเพลิง 2.ความร้อน และ 3.อากาศ นั้นคือ องค์ประกอบ 3 อย่างของ "ไฟ"
การแบ่งประเภทของเพลิง และวิธีดับเพลิงประเภทต่าง ๆ
การแบ่งประเภทของเพลิงไหม้
ประเภทของเพลิงหรือเรียกแบบบ้านๆ คือประเภทของไฟนั้นเอง การแบ่งประเภทของไฟมีสมาคมหรือสถาบันมากมายหลายประเทศได้แบ่งแยกประเภทของไฟไว้ ยกตัวอย่างเช่น สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ (National Fire Protection Association) ของสหรัฐอเมริกาได้แบ่งประเภทของไฟออกเป็น 5 ประเภท คือ A B C D และ Kออสเตรเลียแบ่งประเภทเพลิงไหม้ออกเป็น 6 ประเภทเหมือนอังกฤษ และสหภาพยุโรป ดังต่อไปนี้
- ประเภทเอ (Class A) : เพลิงไหม้ ของแข็งที่เป็นสารอินทรีย์ (Organic solids) เช่น กระดาษ ไม้ฯลฯ
- ประเภทบี(Class B) : เพลิงไหม้ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids) และของแข็งและถูกทำให้เป็นของเหลวได้(Liquifiable solids)
- ประเภทซี (Class C) : เพลิงไหม้ก๊าซไวไฟ (Flammable gases)
- ประเภทดี (Class D) : เพลิงไหม้โลหะ (Metals)
- ประเภทอี (Class E) : เพลิงไหม้ อุปกรณ์ไฟฟ้า(Electrical equipment)
- ประเภทเอฟ (Class F) : เพลิงไหม้ไขมันและน้ำมันใช้ในการปรุงอาหาร (Cooking fat and oil)
กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยได้แบ่งประเภทของไฟออกเป็น 4 ประเภท ตามมาตรฐานสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ดังนี้
2. ประเภท B มีสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมาย สี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีอักษร B โดยจะมีสีของพื้นเป็นสีแดง ตัวอักษรสีดำ คือ เพลิงที่เกิดจากสารเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวและก๊าซ
3. ประเภท C มีสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมาย วงกลม ภายในมีอักษร C โดยจะมีสีของพื้นเป็นสีฟ้า ตัวอักษรสีดำ คือ เพลิงที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่
4. ประเภท D มีสัญลักษณ์เป็นเครื่องหมาย ภายในมีอักษร D โดยจะมีสีของพื้นเป็นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ คือ เพลิงที่เกิดจากโลหะติดไฟ เช่น แมกนีเซียม, ติตาเนียม, ลิเทียม
วิธีดับเพลิงประเภทต่าง ๆ
การดับเพลิงสามารถทำได้ 4 วิธี ดังนี้- การกำจัดเชื้อเพลิง (Eliminate Fuel Supply) นำเชื้อเพลิงออกไปจากบริเวณเกิดอัคคีภัย และสำหรับกรณีขนถ่ายเอาเชื้อเพลิงออกไปไม่ได้ ควรใช้วิธีนำสารอื่นๆ มาเคลือบผิวของเชื้อเพลิงเอาไว้ เช่น การใช้ผงเคมี โฟม น้ำละลายด้วยผงซักฟอก ซึ่งเมื่อฉีดลงบนผิววัสดุแล้วจะปกคลุมอยู่นานตราบเท่าที่น้ำหรือสารเคมีอื่นๆ ที่ผสมในน้ำยังไม่สลายตัว
- การป้องกันออกซิเจนในอากาศรวมตัวกับเชื้อเพลิง (Prevent Oxygen In Air Combining With Fuel) การป้องกันออกซิเจนในอากาศรวมตัวกับเชื้อเพลิงทำได้สองอย่าง คือการใช้ก๊าซเฉื่อยไปลดจำนวนออกซิเจนในอากาศ หรือการใช้สิ่งที่ผนึกอากาศคลุมเชื้อเพลิงไว้ สำหรับพื้นที่ที่มีไฟไหม้ไม่ใหญ่โตนัก การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้ง หรือไอน้ำจะได้ผลดี โฟมเป็นตัวกั้นระหว่างเชื้อเพลิงกับอากาศที่ดีถ้าสามารถคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมดโดยไม่มีช่องว่าง
- การลดความร้อนที่ทำให้เกิดการระเหย (Elimination Heat Causing Oil Vapouri Zation) ความร้อนทำให้เชื้อเพลิงระเหยเป็นไอ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องลดความร้อนลง เพื่อไม่ให้เชื้อเพลิงคลายไอ น้ำเป็นตัวสำคัญที่สุดในการลดความร้อน โดยเฉพาะน้ำที่มีฝอยละเอียด จะมีประสิทธิภาพมาก ฝอยน้ำที่ฉีดลงไปบนเปลวไฟจะไปลดความร้อน นอกจากนั้นยังต้องลดความร้อนของวัสดุและอุปกรณ์ใกล้เคียงต่าง ๆ ให้ต่ำกว่าจุดติดไฟด้วย
- การตัดปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) เป็นวิธีการดับเพลิงแบบใหม่ได้ผลมาก โดยการใช้สารบางชนิดที่มีความไวต่อออกซิเจนมากเมื่อฉีดลง สารดังกล่าว ได้แก่ พวกไฮโดรคาร์บอนประกอบกับ ฮาโลเจน (Halogenated Hydrocarbon) ซึ่งสารฮาโลเจนได้แก่ ไอโอดีโบรมีนคลอรีนและฟลูออรีน สารดับเพลิงประเภทนี้เรียกว่า ฮาลอน (Halon) เป็นต้น
จิตวิทยาเมื่อเกิดอัคคีภัย
การฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้น เป็นการเรียนรู้การป้องกันและระงับอัคคีภัย เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้ประสบเหตุการณ์เพลิงไหม้มีสติไม่เกิดการตื่นตระหนกและสามารถตอบโต้สถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการดับเพลิงหรือการอพยพหนีไฟก็ตามมนุษย์เมื่อเผชิญกับสิ่งอันตรายจะเกิดการตื่นตระหนก ความกลัวตาย โดยสัญชาติญาณแล้วทุกคนจะพยายามดิ้นรน หรือใช้วิธีหนีให้เร็วที่สุดเมื่อมีภัย สิ่งกระตุ้นต่างๆ ที่มีผลต่อสภาวะจิตใจของผู้อยู่ในเหตุการณ์
1. อาการตื่นตระหนก/ตกใจ (Panic) เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดโดยเฉพาะเหตุเพลิงไหม้ย่อมทำให้ผู้ประสบเหตุเกิดความตื่นตระหนก ขาดสติในการระงับเหตุหรือการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ดังกล่าว
2. แสง สี แสงของไฟ ความสว่างของการลุกไหม้ จะทำให้เกิดความกลัวได้เช่นกัน นอกจากนั้น สีของควันไฟ สีของการลุกไหม้ก็เป็นตัวกระตุ้นอีกทางหนึ่งด้วย
3. เสียง มีส่วนกระตุ้นให้เกิดความกลัว เสียงแตกประทุจากการลุกไหม้ เสียงแตกหักของอุปกรณ์ ก็ทำให้เกิดความกลัวได้ ความเงียบก็ทำให้เกิดความกลัวได้เช่นกัน
4. กลิ่น เป็นสิ่งที่กระตุ้นอีกอย่างหนึ่ง อันได้แก่กลิ่นควันไหม้ กลิ่นคาวเลือด กลิ่นสารระคายเคือง กลิ่นจากการระเบิด เป็นต้น
5. ควัน (Smoke) คือสารผสมระหว่างเขม่า ขี้เถ้าและวัสดุต่างๆ ทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลงและมีสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายลอยสะสมอยู่ในควันด้วย
6. อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง (ความร้อน) การสัมผัสวัตถุที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันมากๆ ย่อม กระตุ้นให้เกิดความกลัวได้มากน้อยขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน
7. ข่าว ข่าวที่เกิดในภาวะต่างๆ ที่ส่อให้เห็นถึงความสับสนและไม่แน่นอน เป็นอันตรายแก่คนนั้นๆ หรือญาติพี่น้อง พรรคพวก หรือข่าวน่ากลัวต่างๆ ย่อมกระตุ้นอารมณ์ให้เกิดความกลัวได้
สิ่งที่ควรปฏิบัติและควรรับทราบเมื่อเหตุเพลิงไหม้
เมื่อเกิดเพลิงไหม้คนที่อยู่ในเหตุการณ์เห็นควันฟุ้งไปทั่วจะเกิดอาการตะหนก (Panic) ขาดสติ และพร้อมที่จะวิ่งออกจากสถานที่นั้นเพื่อเอาชีวิตรอด ผู้ที่มีสติอยู่บ้างก็รีบเข้าไปดับเพลิงไหม้ แต่ถ้าใช้เครื่องดับเพลิงไม่ถูกต้อง หรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมเข้าดับเพลิง จะทำให้ไม่สามารถดับเพลิงได้
สิ่งที่ทำให้มีการตอบสนองหรือรับรู้เหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขึ้นอยู่กับ
1. การเรียนรู้ กรณีเพลิงไหม้จะต้องรู้ถึงสาเหตุ ลักษณะการลุกไหม้ ปัจจัยสนับสนุนการลุกไหม้ อันตรายจากการลุกไหม้ ระยะเวลาของการลุกไหม้ ผลเสียที่เกิดขึ้นทั้งในขณะเกิด หลังเกิดความเสียหายจากอัคคีภัยทำให้มีการเตรียมตัว เตรียมการ เตรียมแผน ฝึกคน สะสมอุปกรณ์เพื่อต่อสู้กับไฟ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังต้องมีการเตรียมการป้องกัน มิให้เกิดภัยหรือบรรเทาความรุนแรงอีกทางหนึ่งด้วย
2. การเตือนภัย ข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภยันตรายต่างๆ ถ้าหากได้รับทราบข่าวหรือสัญญาณเตือนภัยอย่างเหมาะสม มีจังหวะและขั้นตอนที่เหมาะสม การเตือนภัยที่ช้ามาก ก็ทำให้เกิดอัคคีภัยลุกลามใหญ๋โตและรุนแรง
3. การวางแผนรับสถานการณ์ เป็นสิ่งสำคัญในการรับอัคคีภัย การวางแผนที่ดีจะต้องมีรายละเอียดพอสมควร และต้องมีการซักซ้อม ตลอดจนมีการฝึกซ้อม แก้ไขหรือปรับปรุงสิ่งที่ไม่ดี
4. การสื่อสารและการคมนาคม การสื่อสารและการให้ข้อมูลที่แม่นยาถูกต้อง และรวดเร็ว เป็นปัจจัยที่สำคัญในขณะเกิดอัคคีภัย
5. ผู้นำ ถ้าผู้นำมีความสนใจดีรับทราบและได้ตระเตรียมการณ์ ย่อมเห็นชัดว่าจะสามารถรับกับสถานการณ์อัคคีภัยได้ดี
6. ขวัญและกาลังใจ การมีอุปกรณ์ที่ดี มีผู้นำที่ดี ผ่านการฝึกฝนมาอย่างดี มีระเบียบวินัย เป็นต้น ถ้าขวัญและกำลังใจเข้มแข็งแล้วกิจกรรมต่างๆ ที่ยุ่งยากลำบากเพียงใด ก็สามารถดำเนินให้ลุล่วงจนเป็นผลสำเร็จจนได้
การป้องกันแหล่งกำเนิดของการติดไฟ
การเกิดเพลิงไหม้นั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการทำปฏิกิริยาระหว่างความร้อน เชื้อเพลิง และออกซิเจนในอากาศที่มีสัดส่วนที่เหมาะสมทำให้เกิดการจุดติด เมื่อทราบว่าองค์ประกอบของไฟมีอะไรบ้าง จำเป็นต้องควบคุมไม่ให้สัดส่วนขององค์ประกอบของไฟไปผสมทำให้เกิดการจุดติดได้ ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมออกซิเจนได้ เพราะโดยปกติจะมีออกซิเจนผสมอยู่ในอากาศโดยธรรมชาติข้อแนะนำ สำหรับการดูแลป้องกันแหล่งกำเนิดของการติดไฟ อาจทำได้โดยการลดความร้อน การกำจัดความร้อนหรือการป้องกันไม่ให้มีเชื้อเพลิงไปสัมผัสความร้อน ซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าควรใช้ให้เหมาะสมกับงาน และควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร นอกจากนี้การทำความสะอาดอุปกรณ์ไฟฟ้า ควรใช้น้ำยาเฉพาะ และควรเป็นชนิดที่ไม่ไวไฟ สรุปโดยสังเขปได้ดังนี้
1) การลดความเสียดทาน อาจทำได้โดยการใช้สารสาหรับหล่อลื่นที่ไม่ไวไฟ และเป็นชนิด ที่ได้รับการแนะนำจากผู้สร้างอุปกรณ์หรือฝ่ายวิศวกรรม ควรมีการทำความสะอาดอุปกรณ์เสมอ ๆ เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของฝุ่น ซึ่งอาจเป็นเชื้อไฟ
2) วัสดุไวไฟชนิดพิเศษ ควรเก็บรักษาให้ถูกต้องตามลักษณะการจัดเก็บสารเคมีนั้น ๆ เช่น เก็บไว้ในสถานที่ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิที่พอเหมาะ หรือห่างไกลจากความร้อนจะไม่ทำให้เกิดการเผาไหม้
3) การเชื่อมและการตัดโลหะ ควรจัดเป็นบริเวณแยกต่างหากจากงานอื่น ๆ ควรอยู่ในบริเวณ ที่มีการถ่ายเทอากาศสะดวก และพื้นที่จะต้องเป็นชนิดทนไฟ แต่ถ้าหากจัดให้อยู่แยกต่างหากไม่ได้ ก็ควรจัดเตรียมบริเวณสาหรับการเชื่อมและการรตัดโลหะที่คานึงถึงการใช้พื้นที่ทนไฟ ต้องมีการป้องกันประกายไฟ เพื่อไม่ให้การเชื่อมหรือตัดโลหะกระเด็นไปในบริเวณอื่น ๆ โดยเฉพาะต้องไม่มีเชื้อเพลิง อยู่ในบริเวณใกล้เคียง และควรจัดหาอุปกรณ์สาหรับดับเพลิงไว้ในบริเวณนี้ด้วย
4) การใช้เตาเผาแบบเปิดหรือเปลวไฟที่ไม่มีสิ่งปิดคลุม ต้องมีการป้องกันการกระเด็น ของลูกไฟ ต้องไม่เก็บสารที่เป็นเชื้อเพลิงไว้ในบริเวณที่ใกล้เคียง ไม่ควรทิ้งให้ติดไฟโดยไม่มีการดูแล รวมทั้ง ต้องมีการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม
5) การสูบบุหรี่และการจุดไฟ ควรจัดให้มีบริเวณสูบบุหรี่สำหรับพนักงานและจัดป้าย แสดงไว้ และต้องเข้มงวดให้พนักงานปฏิบัติตาม สูบบุหรี่เฉพาะบริเวณที่กำหนดไว้สำหรับสูบบุหรี่ได้ ควรจัดภาชนะสาหรับทิ้งก้นบุหรี่ ส่วนบริเวณใดที่ห้ามการสูบบุหรี่ ควรห้ามจุดไฟและเตรียมการสำหรับป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่อาจเกิดจากความประมาทเลินเล่อ รวมทั้งประกาศหลักปฏิบัติในการใช้พื้นที่ เพื่อให้พนักงานเข้าใจ และให้ความร่วมมือป้องกันอัคคีภัย
6) วัตถุที่ผิวร้อนจัด เช่น ปล่องไฟ ท่อไอน้ำ ท่อน้าร้อน ไม่ควรติดตั้งผ่านส่วนที่เป็นพื้น หรือ เพดาน ควรจัดให้ผ่านผนังทนไฟ หรือมีการหุ้มห่อด้วยสาร หรือวัตถุทนไฟ รวมทั้งจัดให้มีการถ่ายเทความร้อน ในบริเวณนั้นด้วย สำหรับโลหะที่ถูกทำให้ร้อนจัด ควรบรรจุในภาชนะ หรือผ่านไปตามอุปกรณ์ ที่จัดไว้โดยเฉพาะ
7) ไฟฟ้าสถิต ประจุไฟฟ้าสถิต ส่วนใหญ่เกิดขึ้นเนื่องจากการเสียดสีของสารที่ไม่เป็นตัวนำ ซึ่งเมื่อเกิดการถ่ายเทประจุไฟฟ้า ก็จะทำให้เกิดประกายไฟ และถ้าประกายไฟสัมผัสกับเชื้อเพลิง ก็อาจเกิด การลุกไหม้ การป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้าสถิต เป็นไปได้ยาก วิธีแก้ไขที่นิยมใช้โดยทั่วไป คือ การต่อสายดิน การต่อกับวัตถุที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับประจุได้ การรักษาระดับความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับที่เหมาะสม และ การทำให้บรรยากาศรอบ ๆ เป็นประจุไฟฟ้า ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวนาประจุไฟฟ้าออกจากวัตถุที่เก็บประจุ ไฟฟ้าสถิตไว้ในตัวมัน แต่วิธีนี้ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เท่านั้น เพราะฉะนั้น กรรมวิธีในการทำให้เกิดประจุไฟฟ้า อาจเป็นตัวก่อให้เกิดการลุกไหม้เสียเอง
8) การจุดติดจากการสะสมความร้อน จนเกิดการลุกไหม้ขึ้นเองของสารบางชนิด เช่น ผ้าขี้ริ้ว ที่ชุ่มน้ำมันพืช น้ำมันไขสัตว์ ถ้าอยู่ในภาชนะเปิด สามารถดูดกลืนออกซิเจนจากอากาศ ทำให้เกิดสะสม ความร้อนลุกไหม้ขึ้นมาได้เอง
9) สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ แล้วคายความร้อนออกมาสะสมในวัสดุเชื้อเพลิง เกิดการลุกไหม้ขึ้น เช่น ปูนขาว ผงโซดาไฟ เป็นต้น
10) การสลายตัว (การเน่าเสีย) ของวัชพืช โดยแบคทีเรียจะคายความร้อน ออกมาด้านบน จนทำให้ด้านบนของกองวัชพืชที่แห้ง เกิดการคุไหม้ขึ้น เป็นต้น
เครื่องดับเพลิงชนิดต่าง ๆ
1. เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ (Portable Fire Extinguisher)
ประเภทของเครื่องดับเพลิงแบบมือถือเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ตามกฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ เรียกว่า "เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้" แต่ถ้าเป็นชาวบ้านอย่างเราเรียกว่า"ถังดับเพลิง" ซึ่งก็มีอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นประเภทของเชื้อเพลิงและสถานที่ที่จะฉีดดับเพลิง ซึ่งถังดับเพลิงที่นิยมใช้กันอยู่ตามอาคารบ้านเรือนมีดังต่อไปนี้

ถังดับเพลิงแบบมือถือชนิดบรรจุน้ำสะสมแรงดัน ใช้สำหรับดับเพลิงประเภท A เท่านั้น ขนาดที่นิยมใช้กันทั่วไป คือ ขนาด 10 ลิตร ตัวถังทำด้วยแสตนเลส เพื่อป้องกันการเกิดสนิม ภายในถังบรรจุก๊าซไนโตรเจน หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ เพื่อให้มีความดันสะสม 100 PSI ห้ามนำถังดับเพลิงชนิดนี้ดับเพลิงประเภท C เพราะจะทำให้ผู้ใช้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดเสียชีวิตได้
ถังดับเพลิงแบบมือถือชนิดบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ เหมาะสำหรับดับเพลิงประเภท B และ C ระยะการฉีดดับเพลิง 1.5 ถึง 2 เมตร จึงจะได้ประสิทธิภาพสูงภายในบรรจุก๊าซให้มีความดัน 1,200 PSI ดังนั้น ถังต้องเป็นถังไร้ตะเข็บเท่านั้น และทำการตรวจสอบสภาพทุกๆ 6 เดือน โดยวิธีชั่งน้ำหนักแล้วบันทึกข้อมูลเก็บไว้ หากน้ำหนักสูญหายไปเกินกว่า 10 % ควรทำการเติมก๊าซใหม่

ถังดับเพลิงแบบมือถือชนิดบรรจุน้ำยาเหลวระเหย นิยมใช้ในบริเวณที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเลคทรอนิคส์ และในบริเวณที่ต้องการความสะอาด เป็นการดับเพลิงแบบตัดปฏิกิริยาลูกโซ่โดยทำให้อับอากาศสารดับเพลิงชนิดนี้จะระเหยตัวแทนที่อ็อกชิเจน ในขนะเดียวกันก็สามารถลดอุณหภูมิความร้อนของเชื้อเพลิงลงได้
ถังดับเพลิงแบบมือถือชนิดบรรจุผงเคมีแห้ง สำหรับฉีดดับเพลิงประเภท A B และ C ภายในบรรจุผงเคมีแห้ง และก๊าซไนโตรเจน ควรมีการตรวจสอบสภาพทุกๆ 6 เดือน เช่น การจับตัวของผงเคมี การรั่วไหลของก๊าซ คันบีบ การอุดตันของปลายหัวฉีด การผุกร่อนของถัง ถังดับเพลิงชนิดนี้นิยมใช้กันมากเพราะมีราคาถูก ดับเพลิงได้ทุกประเภท ข้อเสียคือผงเคมีที่ฉีดออกมาจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินเพิ่ม
ขนาดและการติดตั้งถังดับเพลิงชนิด A
การติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ให้ติดตั้งชนิดของเครื่อง (1 เอ – 40 เอ) ตามพื้นที่กำหนดในตาราง แต่หากใช้ชนิดที่ต่ำกว่าความสามารถในการดับเพลิงตามพื้นที่ที่กำหนด ให้เพิ่มจำนวนเครื่องดับเพลิงชนิดนั้น ให้ได้สัดส่วนกับพื้นที่ที่กำหนด
ในการคำนวณใช้เครื่องดับเพลิงตามสัดส่วนพื้นที่ของสถานที่กำหนด หากมีเศษของการคำนวณพื้นที่เหลือ ให้นับเป็นพื้นที่เต็มส่วน ที่ต้องเพิ่มจำนวนเครื่องดับเพลิงขึ้นอีก หนึ่งเครื่องในกรณีที่สถานที่มีพื้นที่เกินกว่าที่กำหนดไว้ในตาราง จะต้องเพิ่มเครื่องดับเพลิง โดยคำนวณตามสัดส่วนของพื้นที่ตามที่กำหนดไว้ในตาราง
ขนาดและการติดตั้งถังดับเพลิงชนิด B
เครื่องดับเพลิงแบบมือถือชนิดที่ใช้ดับเพลิง ประเภท B ในสถานที่ตามสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยตามที่กาหนดในตารางดังต่อไปนี้
วิธีใช้ถังดับเพลิงในการดับเพลิง
พยายามเข้าใกล้ 2-4 เมตร เหนือลม พร้อมฉีดสารที่บรรจุตามคุณลักษณะของเครื่องดับเพลิง เช่น บรรจุน้ำให้ฉีดที่ฐานของเพลิง บรรจุผงเคมีแห้งให้ฉีดปกคลุม
2. ระบบน้ำดับเพลิง
ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump) ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบกิจการต่างๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีปั๊มน้ำดับเพลิง ไว้สำหรับปั๊มน้ำจากน้ำสำรองที่มีอยู่ เพื่อควบคุมและดับเพลิงที่เกิดขึ้นมิให้ขยายลุกลาม ซึ่งอาจเป็นปั๊มน้ำดับเพลิงที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลเป็นต้นกำลัง จะทำให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อระบบไฟฟ้าถูกตัดลง ปั๊มน้ำดับเพลิงตามมาตรฐาน UL จะมีอยู่หลายขนาด เช่น 500, 700 และ 1,200 GPM ความดันใช้งาน 100-120 PSI การใช้งานควรกำหนดตารางเวลาการบำรุงรักษา และกำหนดผู้ที่รับผิดชอบในการตรวจสอบอย่างเคร่งครัด เช่น ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงหากระบบดับเพลิงต่อวงจรโดยอัตโนมัติ จะต้องตรวจสอบว่าหากความดันในเส้นท่อลดลงตามที่กำหนด เช่น 50 PSI แล้วปั๊มจะทางานได้เองโดยอัตโนมัติหรือไม่
ปริมาณน้ำสำรอง ควรต้องเตรียมน้ำสำรองในการควบคุมและดับเพลิงที่เกิดขึ้นอย่างน้อยตาม กฏกระทรวง "กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดาเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕” กำหนดให้นายจ้างจัดเตรียมน้ำสำรองไว้ใช้ในการดับเพลิง ในกรณีที่ไม่มีท่อจ่ายน้ำดับเพลิงของทางราชการในบริเวณที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือมีแต่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอ โดยนายจ้างต้องจัดเตรียมน้ำสำรองให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นอย่างน้อย
สายฉีดน้ำดับเพลิง
สายฉีดน้ำดับเพลิงติดตั้งภายในอาคาร
สายฉีดน้ำดับเพลิงสำหรับผู้ดูแลอาคารทั่วไป หรือผู้ที่มิได้ฝึกการใช้สายน้ำดับเพลิง สามารถใช้สายสูบชนิดนี้ได้ ซึ่งมีใช้กันอยู่ 2 แบบ
- แบบสายอ่อนพับแขวนอยู่ภายในตู้ (Hose rack)

- แบบสายแข็งม้วนเป็นขด (Hose reel)
เป็นสายที่มีอัตราการไหลของน้ำ 50 GPM ที่แรงดัน 5 บาร์ โดยมีข้อดีที่ผู้ใช้สามารถลากสายออกจากที่เก็บทำการดับเพลิงตามความยาวที่ต้องการใช้ โดยมิต้องลากสายจนสุดความยาว เหมาะสาหรับในอาคาร โรงงานแคบๆ และอาคารสานักงาน การใช้งานบำรุงรักษาง่าย แต่มีราคาแพง
สายฉีดน้ำดับเพลิงภายนอกอาคาร
สายฉีดน้ำดับเพลิงภายนอกอาคารที่มีมาต่อกับ ท่อจ่ายน้ำ (Hydrant) แบบสวมเร็วใช้ในการต่อสู้กับไฟที่ลุกลามขั้นรุนแรง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขนาด 2 ½ และ 1 ½ มีความยาว 20 และ 30 เมตร
หัวฉีดน้ำดับเพลิง โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ
ชนิดฉีดน้ำเป็นลำตรง (Straight line)
เป็นหัวฉีดที่ปรับไม่ได้ น้ำที่ออกมาจะเป็นลำ ซึ่งมีใช้กันอยู่ทั่วไปโดยนักดับเพลิงและบรรเทาสาธารณภัย เหมาะสำหรับฉีดน้าดับเพลิงในระยะไกลๆ เพื่อทำให้ระยะทางเป็นตัวทำให้ม่านน้ำกระจาย อาจใช้แรงดันของน้ำเป็นตัวทำลายโครงสร้างอาคาร และหล่อเย็นโดยที่ทีมดับเพลิงไม่ต้องเข้าใกล้เพลิงมาก แต่ไม่เหมาะสำหรับพื้นที่แคบๆ เช่น ในอาคารโรงงานแคบๆ และจะทำให้เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว เช่น น้ำมัน สารละลายต่างๆ กระจายเป็นวงกว้างทำให้เกิดเพลิงลุกลาม
ชนิดฉีดน้ำเป็นฝอย (Fog)
เป็นหัวฉีดน้ำที่สามารถปรับน้ำให้เป็นลำหรือเป็นฝอย โดยมีรัศมีตั้งแต่ 0-120 องศา เพื่อใช้ในการหล่อเย็นหรือนำทีมดับเพลิงเข้าไปโดยอาศัยฉากน้ำ เป็นตัวไล่ไอของสารให้เจือจาง และกันรังสีความร้อน เปลวไฟ เพื่อเข้าปิดวาล์วดับเพลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหัวฉีดน้ำนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างมาก
![]() |
หัวฉีดชนิดฉีดน้ำเป็นฝอย (Fog) |
วิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการดับเพลิง
ในการเข้าดับเพลิงหรือผจญเพลิง นอกจากอุปกรณ์ที่ใช้สาหรับดับเพลิง เช่น เครื่องดับเพลิงชนิดต่างๆ สายส่งน้ำดับเพลิง หัวฉัดน้ำ และอื่นๆ ผู้ที่เข้าทำการดับเพลิง หรือผจญเพลิงต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ที่สามารถป้องกันอันตรายที่จะได้รับ ผู้ที่เข้าทำการดับเพลิง หรือผจญเพลิง จะต้องแน่ใจว่า อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้อยู่ในสภาพที่ดี หัวหน้าทีมดับเพลิงจะต้องจัดให้มีการตรวจอุปกรณ์เป็นประจำ และถ้ามีอุปกรณ์ใดชำรุดเสียหายจะต้องซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ อุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่2. แว่นตา ในขณะปฏิบัติงานบางสถานที่ กรณีที่หมวกที่ใช้สวมใส่ไม่มีกระบังหน้า การเข้าดับเพลิงหรือผจญเพลิง มีโอกาสที่จะได้รับอันตรายบริเวณดวงตา
3. เสื้อคลุมดับเพลิง ใช้สาหรับใส่คลุมทับเครื่องแต่งกายหรือเครื่องแบบที่ใช้อยู่ตามปกติ มีสีที่มองเห็นได้ชัดเจนหรือมีแถบสีสะท้อนแสงติดอยู่ที่แขน ลำตัวเสื้อคลุม เนื้อผ้าอาจเป็นผ้าใบหรือผ้าโทเรที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน ด้านในซับด้วยผ้าอีกชั้นหนึ่ง ความยาวของตัวเสื้อคลุมเข่า กระดุมเสื้อเป็นชนิดขอสับหรือกระดุมกด ด้านในติดแถบตีนตะขาบ แขนยาวถึงข้อมือ ประโยชน์ของเสื้อคลุมดับเพลิง เพื่อป้องกันความร้อนและเปลวไฟ
4. ถุงมือ เป็นชนิดผ้าขนสัตว์อย่างหนาหรือเป็นถุงมือหนังอย่างบาง ต้องสวมใส่นิ้วมือทั้ง 5 นิ้ว ทนความร้อนได้ และสามารถป้องกันการถูกบาดจากของมีคม เพื่อการหยิบจับอุปกรณ์และสิ่งต่างๆ ในที่เกิดเหตุซึ่งอาจมีความร้อนหลงเหลืออยู่
5. รองเท้าดับเพลิง เป็นชนิดบู๊ตยาง พื้นรองเท้ามีแผ่นเหล็ก เป็นเหล็กสปริง หัวรองเท้าหุ้มด้วยเหล็กเช่นเดียวกัน มีลักษณะอย่างน้อยตามมาตรฐาน มอก. ที่ 523 ใช้ใส่เมื่อเข้าผจญเพลิง เพราะในที่เกิดเหตุอาจมีเศษวัสดุแหลมคม
แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างได้กำหนดให้นายจ้างจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยประกอบด้วย การตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ การบรรเทาทุกข์ และการปฏิรูปฟื้นฟู องค์ประกอบของแผนดังกล่าวจะดำเนินการในภาวะต่างกัน คือ ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ ขณะเกิดเพลิงไหม้ และหลังจากเพลิงสงบแล้ว รายละเอียดแยกได้ดังนี้1. ก่อนเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งจะประกอบด้วยแผนป้องกันอัคคีภัยต่างๆ 3 แผน คือแผนการอบรมแผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย และแผนการตรวจตรา
2. ขณะเกิดเพลิงไหม้ ซึ่งจะประกอบด้วยแผนเกี่ยวกับการดับเพลิง และลดความสูญเสียโดยประกอบด้วยแผนต่างๆ 3 แผน คือ แผนการดับเพลิง แผนการอพยพหนีไฟและแผนบรรเทาทุกข์ สำหรับแผนบรรเทาทุกข์ จะเป็นแผนที่มีการปฏิบัติต่อเนื่องไปจนถึงหลังเหตุเพลิงไหม้สงบลงแล้วด้วย
3. หลังเหตุเพลิงไหมสงบลงแล้ว จะประกอบด้วยแผนที่จะดำเนินการเมื่อเหตุเพลิงไหม้สงบลงแล้ว 2 แผน คือ แผนบรรเทาทุกข์ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องจากภาวะเกิดเหตุเพลิงไหม้และแผนปฏิรูปฟื้นฟู
ให้ความรู้ดีมาก
ตอบลบ