5 หัวข้อควรรู้ ! ก่อนการจัดฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น

การจัดอบรมดับเพลิงขั้นต้นให้กับลูกจ้างของสถานประกอบการ โดยนายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นตั้นอย่างน้อย 40 % ของพนักงานแต่ละแผนกนั้น ก็เพื่อให้แผนกต่างๆของสถานประกอบการมีพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรมทำงานอยู่ หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้นในแผนกนั้นจะได้มีพนักงานที่เคยผ่านการอบรมดับเพลิงขั้นต้นเข้าทำการดับเพลิงได้ทันที ก่อนที่เพลิงไหม้จะลุกลามกลายเป็นเพลิงขนาดใหญ่ซึ่งจะยากในการควบคุมและสามารถนำความรู้และทักษะที่ได้รับมาใช้ในการป้องกันไม่ให้เกิดอัคคีภัยภายในแผนกนั้น เพื่อเป็นการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของลูกจ้างและนายจ้าง

ระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัย

ก่อนการจัดฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นให้กับลูกจ้าง สถานประกอบการควรจัดให้มีระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัย เพื่อใช้ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยภายในสถานประกอบการ รวมไปถึงการบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การอบรมให้ความรู้ โดยจัดหาให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ประเภทของการประกอบกิจการ เช่น ลักษณะอาคาร ความเสี่ยงที่จะเกิดอัคคีภัย ประเภทและปริมาณเชื้อเพลิง ฯลฯ เพื่อให้ได้ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วพื้นที่อาคาร

5 หัวข้อที่ควรรู้ ก่อนจัดอบรมดับเพลิงขั้นต้น

ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญคือ (1) อุปกรณ์แจ้งเหตุ เพลิงไหม้ (2) ตู้ควบคุมระบบ และ (3) อุปกรณ์เตือนภัย โดยแต่ละส่วนประกอบเชื่อมต่อกัน ด้วยสายสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งระบบจะทำงานตรวจจับเพลิงไหม้และส่งสัญญาณเตือนภัย เพื่อให้ ผู้อยู่ภายในอาคารอพยพออกไปนอกอาคารหรืออพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัยซึ่งมีการกำหนดไว้ มีความสำคัญทั้งในด้านการป้องกันและด้านระงับอัคคีภัยของสถานประกอบการ คือ เป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดเพลิงไหม้ และหากเกิดเพลิงไหม้ก็สามารถรับรู้และระงับเหตุได้อย่างรวดเร็ว  ประกอบด้วย 5 หัวข้อ ดังนี้

ระบบเพื่อความปลอดภัยด้านอัคคีภัย Fire safety system

1.ระบบตรวจจับและแจ้งเตือน 

ระบบตรวจจับ คือ อุปกรณ์เริ่มต้น ( Initiating Device)ของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงานร่วมกับอุปกรณ์หลักใน ระบบอีก 3 ส่วน ได้แก่ อุปกรณ์แจ้งเตือน (Notification Device) แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า (Power Supply) ตู้ควบคุม(Control Panel) โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์ตรวจจับเหตุเพลิงไหม้และส่งสัญญาญแจ้งเหตุเพลิงไหม้กลับมาที่ตู้ควบคุม  เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือกลุ่มควันไฟและความร้อน ดังนั้นการตรวจสอบเหตุเพลิงไหม้จึงใช้อุปกรณ์ที่มีความสามารถในการตรวจจับกลุ่มควันหรือตรวจจับความร้อน ทำหน้าที่ในการตรวจจับ เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้แบบกดหรือแบบดึงโดยเมื่อมีผู้พบเห็นเหตุเพลิงไหม้อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ ก็สามารถแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้ด้วยการใช้มือกดหรือดึง อุปกรณ์เริ่มต้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                  1. แบบควบคุมด้วยมือ (Manual Type) เป็นอุปกรณ์ส่ง สัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้โดยกระตุ้นด้วยการดึง (Pull Manual Station) หรือการทุบกระจก (Break Glass) และกดปุ่มสัญญาณด้วยคน เมื่อมีการกระตุ้นโดยวิธีดึงหรือ กดจะทำให้สวิตช์ทำงานและส่งสัญญาณไปยังแผงควบคุม โดยปกติอุปกรณ์เริ่มต้นแบบมือนี้จะติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 1.50 เมตร และติดตั้งห่างกันไม่เกิน 65 เมตร ซึ่งโดยทั่วไป จะติดตั้งที่ทางออกของพื้นที่หรือใกล้กับตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงประจำชั้นของอาคาร
                   2.แบบอัตโนมัติ (Automatic Type)เป็นอุปกรณ์เริ่มต้นที่ทำการส่งสัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้โดยอัตโนมัติ อุปกรณ์เริ่มต้นอัตโนมัติมีดังต่อไปนี้

  1. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)
  2. อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ  (Smoke Detector)
  3. อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ(Flame Detector)

อุปกรณ์ตรวจับและเตือนภัยเหตุเพลิงไหม้

  ระบบแจ้งเตือน คือ อุปกรณ์เตือนภัย ทำหน้าที่แจ้งเตือนเพื่อให้ทราบว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้ ผู้อยู่ภายในอาคารอพยพออกไปนอกอาคารหรืออพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัยซึ่งมีการกำหนดไว้ อุปกรณ์เตือนภัย มี 3 แบบ คือ

  1. แบบเสียง ใช้ติดตั้งภายในพื้นที่ใช้งานทั่วไป 
  2. แบบแสง ใช้ติดตั้งภายในพื้นที่ที่มีเครื่องจักรหรือในพื้นที่มีเสียงดังจนไม่สามารถติดตั้ง อุปกรณ์เตือนภัยแบบเสียงได้ 
  3. แบบรวม เป็นอุปกรณ์เตือนภัยแบบเสียงและแสงรวมกัน ในอุปกรณ์เดียวกัน

2.ระบบอุปกรณ์ควบคุมระงับเหตุเพลิงไหม้

ระบบดับเพลิงด้วยน้ำ ประกอบด้วย ระบบท่อยืน (Standpipe) ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler Systems) และเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) ปริมาณน้ำสำรองเพื่อการดับเพลิงจะต้องมี เพียงพอในการส่งน้ำเป็นเวลาอย่างน้อย ๓๐ นาที ทั้งนี้ มาตรฐานในการติดตั้งระบบดับเพลิงด้วยน้ำจะต้องเป็นไปตาม มาตรฐานสากล สำหรับการติดตั้งระบบท่อยืนภายในโรงงานควรติดตั้งเป็นระบบท่อยืนประเภทที่ ประกอบด้วยชุดสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 2.5 นิ้ว และชุดสายฉีดน้ำดับเพลิงขนาด 1 นิ้วหรือ 1.5 นิ้ว เพื่อสามารถใช้ในการดับเพลิงได้ในทุกสถานการณ์ โดยทั่วไปวาล์วสายฉีดน้ำดับเพลิงและชุดสายฉีดน้ำดับเพลิงจะติดตั้งภายในตู้สายฉีดน้ำดับเพลิง (Fire Hose Cabinet) ระยะห่างระหว่างตู้สายฉีดน้ำดับเพลิงต้องห่างกันไม่เกิน ๖๔ เมตร วัดตามแนวทางเดิน

ระบบควบคุมและระงับเหตุเพลิงไหม้


ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ โรงงานที่มีพื้นที่จัดเก็บวัตถุติดไฟได้ตั้งแต่ ๑,๐๐๐ ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีการติดตั้งระบบดับเพลิงอัตโนมัติเช่น ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติการติดตั้งระบบหัว กระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล

ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ


เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่ติดตั้งในพื้นที่ต่างๆ ในโรงงานต้องมีขนาดไม่น้อยกว่า 4.5 กิโลกรัม (10 ปอนด์) โดยเครื่องดับเพลิงแบบมือถือมีหลายประเภทตามชนิดของสารดับเพลิงที่ บรรจุเพื่อใช้ในการดับเพลิงกับเชื้อเพลิงแต่ละประเภท การติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือต้องมีระยะห่างกันไม่เกิน ๒๐ เมตร โดยการเขียนเป็นวงรัศมีของเครื่องดับเพลิงแบบมือถือดังภาพ สำหรับเครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่มีน้ำหนักไม่เกิน 18.14 กิโลกรัม (40 ปอนด์) ต้องมีการติดตั้งให้ส่วนบน สุดของถังสูงจากพื้นไม่เกิน 1.5 เมตร และแนะนำให้ ติดตั้งส่วนล่างสุดของถังสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 100 มิลลิเมตร (4 นิ้ว)

เครื่องดับเพลิงชนิดมือถือ

3.ระบบอุปกรณ์ในการอพยพหนีไฟ

ทางหนีไฟ  เส้นทางหนีไฟ (Means of Egress) หมายถึง เส้นทางที่ต่อเนื่องและไม่มีอุปสรรค สามารถเข้าถึงได้ไม่ว่าจากจุดใดๆ ในอาคารเพื่อไปยังจุดปลอดภัย (Point of Safety)
เส้นทางหนีไฟประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

  1. ทางไปสู่ทางหนีไฟ (Exit Access) หมายถึง พื้นที่ใดๆ ภายในอาคารที่สามารถใช้เป็น เส้นทางเพื่อเคลื่อนที่ไปสู่ทางหนีไฟ (Exit) 
  2. ทางหนีไฟ (Exit) หมายถึงส่วนที่กั้นแยกออกจากส่วนอื่นๆ ของอาคารด้วยโครงสร้างที่ มีการป้องกันไฟ โดยทางหนีไฟจะหมายรวมถึงประตูหนีไฟ บันไดหนีไฟและทาง ลาดเอียงที่มีการปิดล้อมอย่างเหมาะสม
  3. ทางปล่อยออก (Exit Discharge) หมายถึง จุดปล่อยออกจากทางหนีไฟ เป็นจุดเชื่อมต่อ ทางหนีไฟกับทางสาธารณะ โดยทางปล่อยออกต้องปลอดภัยและมีขนาดใหญ่เพียงพอ ต่อการอพยพคนออกจากอาคาร
เส้นทางหนีไฟ


หลักพื้นฐานในการจัดเตรียมเส้นทางหนีไฟ ประกอบด้วย

  1. ต้องมีเส้นทางหนีไฟอย่างน้อย ๒ ทางเสมอต้องคำนึงอยู่เสมอว่าการหนีไฟต้องมีทางเลือก   
  2. เส้นทางหนีไฟต้องไม่มีสิ่งกีดขวางทำให้เป็นอุปสรรคต้องสามารถใช้หนีไฟได้ตลอดเวลา 
  3. เส้นทางหนีไฟต้องมีป้ายที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนไม่ว่าอยู่จุดใดของอาคาร 
  4. เส้นทางหนีไฟต้องมีไฟส่องสว่างฉุกเฉิน

ไฟส่องสว่างฉุกเฉิน แสงสว่างอย่างเพียงพอสำหรับเส้นทางหนีไฟในการอพยพลูกจ้างออกจากอาคารเพื่อการหนีไฟ รวมทั้งจัดให้มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าสำรองที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเพื่อการหนีไฟ และสำหรับใช้กับอุปกรณ์ดับเพลิงขั้นต้นหรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ในทันทีที่ไฟฟ้าดับ

ป้ายบอกทางหนีไฟ

ป้ายบอกทางหนีไฟ  ป้ายบอกทางหนีไฟต้องมีแสงสว่างในตัวเองหรือใช้ไฟส่องให้เห็นได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้สีหรือรูปร่างที่กลมกลืนไปกับการตกแต่งหรือป้ายอื่น ๆ ที่ติดไว้ใกล้เคียง หรือโดยประการใดที่ทำให้เห็นป้ายไม่ชัดเจน

4.ระบบการบริหารจัดการ

เป็นการกำหนดนโยบายต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันเหตุเพลิงไหม้ ให้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยที่สุด เช่น การจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย การตรวจตราเฝ้าระวัง การบำรุงรักษาระบบ การทดสอบระบบ การให้ความรู้การใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ การอบรมดับเพลิงขั้นต้น การฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ

การบริหารจัดการด้านอัคคีภัย

5.ระบบอุปกรณ์เสริม

อุปกรณ์ที่ใช้แทนอุปกรณ์หลักได้หรือเป็นอุปกรณ์ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและหน่วยกู้ภัย ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความจำเป็นสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ 

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กฎหมายอบรมดับเพลิงขั้นต้นและหน่วยงานฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้น

ตัวอย่างหนังสือเชิญเป็นวิทยากร อบรมดับเพลิงขั้นต้น การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ สถานีดับเพลิงบางขุนเทียน

หลักสูตรอบรมดับเพลิงขั้นต้น สำหรับสถานประกอบการ