ฝุ่นติดไฟได้ เป็นผลให้ไฟไหม้สวนน้ำใต้หวันมีผู้ได้รับบาดเจ็บมากกว่า 500 ราย

“ฝุ่นติดไฟได้ (Combustible Dusts)” ตามมาตรฐานของ NFPA 654 หมายถึง “วัสดุของแข็งใด ๆ (Solid Material) ที่ถูกดำเนินการแบ่งย่อยให้มีขนาดเล็กละเอียดมาก ๆ (Finely Divided) โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหรือน้อยกว่า 420 ไมครอนแล้วนั้น ย่อมแสดงให้เห็นถึงอันตรายจากไฟหรือการระเบิด (Fire or Explosion) เมื่อแพร่กระจายและจุดติดไฟขึ้นในอากาศ”



ฝุ่น (Dusts) ในโรงงานอุตสาหกรรม สามารถที่จะก่อให้เกิดอันตรายได้หลายระดับ ทำให้เกิดความรำคาญจากอาการคันตามเนื้อตัว หรือบดบังทัศนวิสัยในการปฏิบัติงาน หรือเป็นสาเหตุให้ลื่นล้ม ไปจนถึงอันตรายขั้นรุนแรงจากการระเบิดของฝุ่นติดไฟ
ในขณะที่ฝุ่นบางชนิด เช่น แอสเบสตอส (Asbestos-แร่ใยหิน) และ ซิลิกา (Silica) สามารถที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจขั้นรุนแรงและผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ เช่น โรคปอดฝุ่น (Pneumoconiosis-เป็นอาการป่วยจากภาวะฝุ่นจับปอด เนื่องจากหายใจสูดฝุ่นละอองเข้าไปทำให้ปอดแข็ง)

 “ฝุ่นติดไฟได้ (Combustible Dusts)” และสามารถก่อให้เกิดการระเบิดตามมา ถ้าครบองค์ประกอบของสภาวะการระเบิด ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายตามมาอย่างใหญ่หลวง  จากเหตุการณ์ระเบิดของฝุ่นติดไฟที่เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้งนั้น มักปรากฏว่าผู้ประกอบการและผู้ปฏิบัติงานไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายที่มีอยู่

ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานบริการที่มีความเสี่ยงจากการระเบิดของฝุ่นจึงควรที่จะมีการพิจารณาว่าสถานประกอบการของตนเองนั้นเสี่ยงต่ออันตรายประเภทนี้หรือไม่ และถ้ามี ก็ต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมเพียงพอที่จะป้องกันหรือลดโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์เช่นที่ว่านี้

“ฝุ่นติดไฟได้ (Combustible Dusts)” ตามมาตรฐานของ NFPA 654 หมายถึง “วัสดุของแข็งใด ๆ (Solid Material) ที่ถูกดำเนินการแบ่งย่อยให้มีขนาดเล็กละเอียดมาก ๆ (Finely Divided) โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับหรือน้อยกว่า 420 ไมครอนแล้วนั้น ย่อมแสดงให้เห็นถึงอันตรายจากไฟหรือการระเบิด (Fire or Explosion) เมื่อแพร่กระจายและจุดติดไฟขึ้นในอากาศ”

การระเบิดของฝุ่นเกิดขึ้นได้อย่างไร          เราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วกับสามเหลี่ยมพื้นฐานการก่อกำเนิดไฟ (The Basic Fire Triangle)  ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบ (Elements) พื้นฐานที่จำเป็น 3 ประการในการก่อให้เกิดไฟขึ้นมา นั่นก็คือ ออกซิเจนในอากาศ (Oxygen) แหล่งจุดติดไฟ (Ignition Source) ซึ่งก็คือ ความร้อน (Heat) และเชื้อเพลิง (Fuel) ซึ่งก็คือ ฝุ่นที่ติดไฟได้ (Combustible Dust)
และเมื่อสภาวะแวดล้อมมีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นมา 2 ประการคือ การแพร่กระจายของอนุภาคฝุ่น (Dispersion of Dust Particulates) ในปริมาณและความเข้มข้นที่มากเพียงพอก็จะสามารถที่จะก่อให้เกิดการเผาไหม้ (Combustion) อย่างรวดเร็วที่เรียกว่า “การปะทุ (Deflagration)” และถ้ากลุ่มฝุ่นขนาดใหญ่นี้อยู่ในสถานที่จำกัด (Confinement of Dust Cloud) เช่น อยู่ในตัวอาคาร ห้อง ท่อส่ง หรือภายในกระบวนการทำงานของอุปกรณ์ ก็จะส่งผลทำให้แรงดัน (Pressure) เพิ่มขึ้นจนถึงขั้นเกิดการระเบิดได้
ทั้งนี้องค์ประกอบทั้ง 5 ประการนี้ ต้องครบสมบูรณ์เท่านั้นจึงจะทำให้เกิดการระเบิดของฝุ่นได้ จะขาดองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม มี 2 องค์ประกอบที่ยากต่อการขจัดคือ ออกซิเจนในอากาศ และสถานที่จำกัดของกลุ่มฝุ่นขนาดใหญ่ ส่วนองค์ประกอบที่เหลืออีก 3 ประการ สามารถที่จะควบคุมให้อยู่ในขอบเขตที่ลดความเสี่ยงได้

ที่มา//http://www.thailandindustry.com/guru/view.php?id=15594&section=9

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กฎหมายอบรมดับเพลิงขั้นต้นและหน่วยงานฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้น

ตัวอย่างหนังสือเชิญเป็นวิทยากร อบรมดับเพลิงขั้นต้น การฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ สถานีดับเพลิงบางขุนเทียน

หลักสูตรอบรมดับเพลิงขั้นต้น สำหรับสถานประกอบการ